วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการใส่เฝือก

ดูกัน เลยยจร้า


 
 

 "" Short  arm slab ""








ในปัจจุบันมีเฝือกให้เลือกอยู่ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

1. เฝือกปูน ซึ่งเป็นการนำปูนพลาสเตอร์มาเคลือบบนผ้าฝ้าย เมื่อใส่แล้วก็จะมีสีขาว

ข้อดี - ราคาค่อนข้างถูก การใส่เฝือกและการตัดเฝือก ดัดเฝือกทำได้ง่าย

ข้อเสีย - มีน้ำหนักค่อนข้างมาก แตกร้าวง่าย ระบายอากาศไม่ค่อยดี อาจทำให้เกิดอาการคันเพราะความอับชื้น

-เวลาถ่ายเอ็กซเรย์ จะมองไม่ค่อยเห็นรอยกระดูกหัก

2. เฝือกพลาสติก เป็นพลาสติกสังเคราะห์ มีหลายสีให้เลือก

ข้อดี - น้ำหนักเบา ระบายอากาศได้ดี มีสีสวยงาม มีความแข็งแรงสูง
เวลาถ่ายเอ็กซเรย์ ก็จะเห็นรอยกระดูกหักได้ชัดเจนกว่า

ข้อเสีย - ราคาแพง (แพงกว่าเฝือกปูนประมาณ 8 - 10 เท่า) การตัดเฝือก ดัดเฝือกทำได้ยาก


เวลาใส่เฝือกทำอย่างไร ?

---- ** ถ้ากระดูกหักเคลื่อนที่ จะต้องดึงและจัดกระดูกให้เข้าที่ก่อนใส่เฝือก
โดยอาจฉีดยาชาเฉพาะที่หรือดมยาสลบก็ได้ หลังจากทำการดึงกระดูกเข้าที่แล้ว ก็จะทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะใส่เฝือก แล้วแพทย์จะพันสำลีรองเฝือก เพื่อป้องกันไม่ให้เฝือกไปกดกับปุ่มกระดูกหรือผิวหนัง เฝือกจะต้องพันให้แน่นกระชับพอดีกับกระดูกแขนหรือขา ซึ่งความยาวของเฝือกจะใส่ตั้งแต่ข้อที่ต่ำกว่ากระดูกที่หัก จนถึง ข้อที่อยู่สูงกว่ากระดูกที่หัก ในระยะแรกที่มีอาการบวมมากก็อาจใส่เฝือกชั่วคราว และเมื่ออาการบวมลดลงก็จะใส่เป็นเฝือกเต็ม






















เมื่อไรถึงจะต้องเปลี่ยนเฝือก ?

เมื่อใส่ไปช่วงหนึ่ง (ประมาณ 2 อาทิตย์) เฝือกมักจะหลวม เนื่องจากอาการบวมลดลง หรือ กล้ามเนื้อลีบ

• เมื่อกระดูกเริ่มติด (ประมาณ4-6 อาทิตย์) ก็อาจเปลี่ยนเป็นเฝือกชั่วคราว เพื่อสะดวกในการบริหาร


เมื่อมีอาการบวม ทำอย่างไร ?

ในช่วง 48 - 72 ชั่วโมงแรก อาจจะมีอาการบวม ทำให้รู้สึกแน่น เฝือกคับ และปวด ซึ่งจะลดอาการบวมได้โดย

• ยกแขน หรือ ขาให้สูงกว่าระดับหัวใจ เช่น การวางบนหมอน หรือ ผ้า

• ขยับนิ้ว หรือ นิ้วเท้า บ่อย ๆ และ เคลื่อนไหวข้อที่อยู่นอกเฝือก บ่อย ๆ

• ประคบด้วยความเย็นบนเฝือก โดยนำน้ำแข็งใส่ในถุงพลาสติก ใส่น้ำเล็กน้อย แล้วห่อด้วยผ้าแห้ง นำไปหุ้มรอบ ๆ เฝือกบริเวณกระดูกหัก การประคบเย็นเพียงจุดเดียวจะไม่ค่อยได้ผลเหมือนการประคบเย็นรอบเฝือก

สัญญาณอันตรายหลังการใส่เฝือก หรือ เฝือกชั่วคราว ควรพบแพทย์โดยด่วน

• ปวดมากขึ้น และรู้สึกว่าเฝือกคับแน่นมาก ซึ่งอาจเกิดจากการบวม หลังจาก ยกไว้สูง ประคบด้วยความเย็น และ รับประทานยาที่แพทย์จัดไว้ให้ แล้วอาการไม่ดีขึ้น

• อาการชา และรู้สึกซ่า ๆ ที่ปลายมือ หรือ เท้า มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการกดเส้นประสาท

• อาการปวดแสบปวดร้อน ซึ่งอาจเกิดจากการกดผิวหนัง หรือ การเสียดสีระหว่างผิวหนังกับเฝือก

• ผิวหนังบริเวณขอบเฝือก บวมแดง ซึ่งอาจเกิดจาก เฝือกทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดี

• ไม่สามารถขยับนิ้วมือ หรือ นิ้วเท้า ซึ่งอาจเกิดจากนิ้วบวม หรือ รู้สึกว่ากล้ามเนื้อไม่มีแรง






ห้องผ่าตัด รพ.รร.จปร






 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น