วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553














สวัสดีปีใหม่ 2011 

สุขขี มีชัย จากใจ ห้องผ่าตัด

รพ.รร.จปร.

**_^


วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553






 โรคตาปลา 


มาจากไหน





ตาปลา คือผิวหนังซึ่งหนาตัวขึ้นมาเนื่องจากการกดทับ 
มักจะเกิดตรงนิ้วเท้าเนื่องจากรองเท้าคับเกินไป
แต่ก็อาจจะเกิดที่ฝ่าเท้าได้ สาเหตุที่พบได้บ่อย 
คือ การใส่รองเท้าคับแน่น ไม่เหมาะกับเท้า
หรือการเดินลงน้ำหนักที่ไม่เหมาะสม
ทำให้มีแรงกดตรงใต้ฝ่าเท้า หรือนิ้วเท้านานๆ 
จึงเกิดการสร้างเนื้อเยื่อพังผืดแข็ง ๆ
ขึ้นมารองรับจุดนั้นแทนเนื้อธรรมดา 










" เลือกรองเท้าให้เหมาะสมนะค่ะ "








ตาปลา คือ ผิวหนังที่ด้านขึ้น เนื่องจากแรงกด 
หรือแรงเสียดสีนานๆ มักเกิดตรงบริเวณ ที่มีปมกระดูกนูน
ตำแหน่งที่พบได้บ่อย ได้แก่ บริเวณ ฝ่าเท้า และใต้นิ้วเท้า







* อย่าลืมดูเเลสุขภาพ เท้ากันด้วยนะจร้า  *

ด้วยความปรารถนาดีจาก ห้องผ่าตัด รพ.รร.จปร.

**_**






วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553




มาดูกันว่า ใคร กันบ้างที่มารับบริการ
ห้องผ่าตัดของเรา


เนื่องจากห้องผ่าตัดให้บริการผ่าตัดทั้ง ผู้ป่วยนอก เเละ ผู้ป่วยใน 
---   หากเป็นผู้ป่วยในที่ต้องมีการเตรียมตัวเพื่อผ่าตัด จะมีวิสัญญี        พยาบาล ไปเยี่ยม เพื่อให้คำเเนะนำ สำหรับการผ่าตัด

---   สำหรับผู้ป่วยนอนที่ไม่ได้นอน โรงพยาบาลก็ต้องมีการเตรียมตัวเช่นกันดังนั้น เจ้าหน้าที่ที่เข้า เวร นอกเวลาจะต้องให้คำเเนะนำเเก่ผู้ป่วยดังกล่าวโดยห้องผ่าตัดได้จัดทำเเนวทางการเตรียมตัวของผู้ป่วยนอกที่จะเข้ารับการผ่าตัด  ดังนี้


การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ( กรณีผู้ป่วยนอก ) นอกเวลาราชการ
1. ซักประวัติ

1.1 ทบทวนแฟ้มประวัติผู้ป่วยในอดีต (ถ้ามี)
  
1.2 โรคประจำตัวของผู้ป่วยและการรักษา ประวัติแพ้ยา ยาที่ใช้ประจำ 

โดยเน้น  เรื่องยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือดซึ่งผู้ป่วยควรงดก่อนผ่าตัดหรือทำฟัน 
             (ตามเอกสารของแผนกเภสัชฯที่แนบมา)

กรณี ที่วันนัดผ่าตัดยังไม่ครบกำหนดการหยุดยาละลายลิ่มเลือด 
     ควรแจ้งให้ศัลยแพทย์รับทราบเพื่อพิจารณา 
-   กรณี ที่ผู้ป่วยมีประวัติได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและต้องได้รับยาละลาย 
 ลิ่มเลือดอย่างต่อเนื่องต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อเตรียมผู้ป่วยล่วงหน้าก่อนการผ่าตัดต่อไปเพื่อ ป้องกันลิ้นหัวใจติด ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต

1.3 ซักประวัติปัญหาการผ่าตัดและการได้รับยาระงับความรู้สึก

1.4 ซักประวัติว่าเคยถอนฟันโดยฉีดยาชาหรือไม่ เพื่อดูประวัติการแพ้ยาชา

     1.5 ซักประวัติยาที่ใช้ในการควบคุมความดันให้ผู้ป่วยรับประทานต่อเนื่องจนถึงเช้าวันผ่าตัดโดย รับประทานร่วมกับน้ำเปล่าประมาณ 30 cc

     1.6 ซักประวัติยาที่ใช้ในการควบคุมโรคเบาหวาน หลังจากที่ผู้ป่วยงดอาหารและน้ำดื่ม ห้ามผู้ป่วยใช้ยาโรคเบาหวานเพื่อป้องกันการเกิดภาวะ Hypoglycemia


2. งดน้ำเเละอาหารหลังเที่ยงคืนก่อนวันผ่าตัด 

กรณีผู้ป่วยเด็ก ระยะเวลางดน้ำและอาหารก่อนผ่าตัด  ดังนี้
  
   อายุ     งดน้ำ น้ำหวานไม่มีกาก(ชม.)      งดนมและอาหาร (ชม.)

< 6 เดือน                    2                                4                
 6 เดือน ปี            2-3                               6
  
> 3 ปี                       2-3                               8

      หมายเหตุ  กรณีที่ศัลยแพทย์ไม่มี Order  NPO ให้ยึดคำสั่งของแพทย์เป็นหลัก




3. ทำความสะอาดร่างกายโดยเฉพาะส่วนที่จะผ่าตัด เช่น ทำผ่าตัด CTR ควรตัดเล็บ ฟอกบริเวณมือและข้อมือให้สะอาด หรือผ่าตัด Cyst ที่ศีรษะก็ควรสระผมให้สะอาดเรียบร้อย เป็นต้น


4. ต้องมีญาติมาด้วยอย่างน้อย 1 คน


5. ให้ผู้ป่วยมาถึงห้องผ่าตัดก่อนเวลา  30 นาที


6. กรอกข้อมูลในใบส่งนัดห้องผ่าตัดให้ครบถ้วน โดยเฉพาะการวินิจฉัย การผ่าตัด รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้สะดวกและเป็นปัจจุบัน





วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553




บทความนี้เรานำเอาภาพ บรรยากาศการประชุุมมาฝากกันนะจ๊ะ 



.....ประชุมวิชาการห้องผ่าตัด...

-- เรื่อง การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน --








  พี่เจี๊ยบ เครียดตั้งเเต่ยังไม่เริ่มกันเลย














 


  กินกันไป ประชุมกันไป

สมองปลอดโปร่ง ตาม

สไตล์ OR



                                      

 





   พี่ตุ่น เป็นผู้เริ่มนำเข้าสู่บทเรียน





  "  เรียบร้อยไปป่าว "

เหมือนไม่ใช่มายด์ เลย ^^






 เริ่ม ง่วง แล้ว จร้า  ... =="






  อาจารย์ป้า จาก CSSD ก็มาอะนะ




                             

                                               
   





 
พี่เจี๊ยบ เริ่ม หาข้อมูล.... *-**







  มากันครบ พี่ เมย์ หายไปไหน งะ 

       (( ก็มาถือกล้องไงจร้า ))









หลังจากได้รับความรู้เต็มที่ เราก็ สู้ตายจร้าาาาาา

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

 สิ้นเดือนเเบบนี้เรามีสาระน่ารู้


เกี่ยวกับการผ่าตัดยอดฮิตของ รพ.รร.จปร.


มาฝากกันค่ะ่




 เอ็นไขว้หน้าคืออะไร  มีหน้าที่อะไร 







  เอ็นไขว้หน้า ( Anterior cruciate ligament - ACL)
เป็นเอ็นที่อยู่ในข้อเข่า  ช่วยป้องกันกระดูกทีเบีย (Tibia)  เคลื่อนที่ไปข้างหน้าใต้กระดูกฟีเมอร์(Femer)  เอ็นไขว้หน้า
จะตึงเวลาเหยียดเข่า   แรงบิดหมุนที่รุนแรงทำให้เอ็นไขว้หน้าขาดได้ และความมั่นคงของเข่า ที่ป้องกันไม่ให้กระดูกทีเบีย(Tibia)  เลื่อนไปข้างหน้าใต้เข่า หรือบิดหมุน ก็จะเสียไป
  ถ้าไม่ได้รับการรักษา หมอนรองข้อเข่า หรือกระดูกอ่อนผิวข้อ ก็จะได้รับแรงที่ผิดปกติมากเกิน ทำให้ข้อเสียเกิดภาวะข้อเสื่อมได้จาก การศึกษาพบว่า มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการบาดเจ็บเอ็นไขว้ในนักกีฬาหญิง ผลการศึกษาวิธีการฝึกการบริหาร สามารถช่วยลด อัตราเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้าลงได้

1.   การกระโดด  พบว่านักกีฬาหญิงเวลากระโดดลงพื้นโดยไม่งอเข่ามากเท่านักกีฬาชาย  แรงกระแทกบนเข่าจะมากกว่าทำให้อัตราการบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้าสูงขึ้น
      
2.   เวลาหมุนบิดเข่า   นักกีฬาหญิงมักจะหมุนบิดเข่าขณะที่เข่าเหยียดมากกว่านักกีฬา
ชาย  การงอเข่าและสะโพกจะช่วยลงแรงที่กระทำต่อเอ็นไขว้หน้า 
ในการเล่นกอล์ฟ ขณะที่หัวไม้กระทบลูก การรักษาเข่าซ้ายให้งอไว้เล็กน้อยจะลดแรง
บนเอ็นไขว้หน้าได้มากกว่า  สะบัดเข่า สะโพกให้เหยียดขึ้นทันที  ซึ่ง Tiger  Woods  ชอบใช้มากเวลาต้องการให้ไกลขึ้นอีก 30 – 40  หลา

3.  กล้ามเนื้อที่ควบคุมเข่า  
มีกล้ามเนื้อเหยียดเข่าคือ กล้ามเนื้อ Quadriceps  อยู่ด้านหน้าต้นขา และกล้ามเนื้อ
งอเข่าคือ Hamstrings อยู่ด้านหลังต้นขา
นักกีฬาหญิงส่วนใหญ่ใช้กล้ามเนื้อ Quadriceps เวลาเปลี่ยนทิศทางหมุนขา แรงของกล้าม เนื้อ ดึงกระดูกทีเบีย(Tibia)  ไปข้างหน้าและเหยียดเข่าทำให้มีการฉีกขาดของเอ็นไขว้หน้าได้การบริหารกล้าม เนื้อ Hamstrings และใช้กล้ามเนื้อ Hamstrings มากขึ้น ช่วยลดการบาดเจ็บต่อเอ็นไขว้หน้าได้





ACL RECONSTUCTION



วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รวมพล OR งานลอยกระทงปี 53 :)))

























มาซ้อมร้องเพลงวันลอยกระทง
เเล้วไปเจอกันที่สนามกีฬา รร.จปร. นะจ๊ะ


 วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่งเราทั้งหลายชายหญิงสนุกกันจริง วันลอยกระทง
ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทงลอยกระทงกันแล้ว
ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวงรำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง
บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ
วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง
เราทั้งหลายชายหญิง
สนุกกันจริง วันลอยกระทง
ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง
ลอยกระทงกันแล้ว
ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง
รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง
บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ



November full moon shines,
Loi Krathong, Loi Krathong,
and the water's high
in the river and local klong, Loi Loi Krathong,
Loi Loi Krathong,
Loi Krathong is here and everybody's full of cheer,
We're together at the klong,
We're together at the klong,
Each one with this krathong,
As we push away we pray,
We can see a better day.







 " ห้องผ่าตัด รพ.รร.จปร. "


ขอร่วมสนับสนุนงานลอยกระทง ปี 2553 อย่างเป็นทางการ


*^*

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการใส่เฝือก

ดูกัน เลยยจร้า


 
 

 "" Short  arm slab ""








ในปัจจุบันมีเฝือกให้เลือกอยู่ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

1. เฝือกปูน ซึ่งเป็นการนำปูนพลาสเตอร์มาเคลือบบนผ้าฝ้าย เมื่อใส่แล้วก็จะมีสีขาว

ข้อดี - ราคาค่อนข้างถูก การใส่เฝือกและการตัดเฝือก ดัดเฝือกทำได้ง่าย

ข้อเสีย - มีน้ำหนักค่อนข้างมาก แตกร้าวง่าย ระบายอากาศไม่ค่อยดี อาจทำให้เกิดอาการคันเพราะความอับชื้น

-เวลาถ่ายเอ็กซเรย์ จะมองไม่ค่อยเห็นรอยกระดูกหัก

2. เฝือกพลาสติก เป็นพลาสติกสังเคราะห์ มีหลายสีให้เลือก

ข้อดี - น้ำหนักเบา ระบายอากาศได้ดี มีสีสวยงาม มีความแข็งแรงสูง
เวลาถ่ายเอ็กซเรย์ ก็จะเห็นรอยกระดูกหักได้ชัดเจนกว่า

ข้อเสีย - ราคาแพง (แพงกว่าเฝือกปูนประมาณ 8 - 10 เท่า) การตัดเฝือก ดัดเฝือกทำได้ยาก


เวลาใส่เฝือกทำอย่างไร ?

---- ** ถ้ากระดูกหักเคลื่อนที่ จะต้องดึงและจัดกระดูกให้เข้าที่ก่อนใส่เฝือก
โดยอาจฉีดยาชาเฉพาะที่หรือดมยาสลบก็ได้ หลังจากทำการดึงกระดูกเข้าที่แล้ว ก็จะทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะใส่เฝือก แล้วแพทย์จะพันสำลีรองเฝือก เพื่อป้องกันไม่ให้เฝือกไปกดกับปุ่มกระดูกหรือผิวหนัง เฝือกจะต้องพันให้แน่นกระชับพอดีกับกระดูกแขนหรือขา ซึ่งความยาวของเฝือกจะใส่ตั้งแต่ข้อที่ต่ำกว่ากระดูกที่หัก จนถึง ข้อที่อยู่สูงกว่ากระดูกที่หัก ในระยะแรกที่มีอาการบวมมากก็อาจใส่เฝือกชั่วคราว และเมื่ออาการบวมลดลงก็จะใส่เป็นเฝือกเต็ม






















เมื่อไรถึงจะต้องเปลี่ยนเฝือก ?

เมื่อใส่ไปช่วงหนึ่ง (ประมาณ 2 อาทิตย์) เฝือกมักจะหลวม เนื่องจากอาการบวมลดลง หรือ กล้ามเนื้อลีบ

• เมื่อกระดูกเริ่มติด (ประมาณ4-6 อาทิตย์) ก็อาจเปลี่ยนเป็นเฝือกชั่วคราว เพื่อสะดวกในการบริหาร


เมื่อมีอาการบวม ทำอย่างไร ?

ในช่วง 48 - 72 ชั่วโมงแรก อาจจะมีอาการบวม ทำให้รู้สึกแน่น เฝือกคับ และปวด ซึ่งจะลดอาการบวมได้โดย

• ยกแขน หรือ ขาให้สูงกว่าระดับหัวใจ เช่น การวางบนหมอน หรือ ผ้า

• ขยับนิ้ว หรือ นิ้วเท้า บ่อย ๆ และ เคลื่อนไหวข้อที่อยู่นอกเฝือก บ่อย ๆ

• ประคบด้วยความเย็นบนเฝือก โดยนำน้ำแข็งใส่ในถุงพลาสติก ใส่น้ำเล็กน้อย แล้วห่อด้วยผ้าแห้ง นำไปหุ้มรอบ ๆ เฝือกบริเวณกระดูกหัก การประคบเย็นเพียงจุดเดียวจะไม่ค่อยได้ผลเหมือนการประคบเย็นรอบเฝือก

สัญญาณอันตรายหลังการใส่เฝือก หรือ เฝือกชั่วคราว ควรพบแพทย์โดยด่วน

• ปวดมากขึ้น และรู้สึกว่าเฝือกคับแน่นมาก ซึ่งอาจเกิดจากการบวม หลังจาก ยกไว้สูง ประคบด้วยความเย็น และ รับประทานยาที่แพทย์จัดไว้ให้ แล้วอาการไม่ดีขึ้น

• อาการชา และรู้สึกซ่า ๆ ที่ปลายมือ หรือ เท้า มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการกดเส้นประสาท

• อาการปวดแสบปวดร้อน ซึ่งอาจเกิดจากการกดผิวหนัง หรือ การเสียดสีระหว่างผิวหนังกับเฝือก

• ผิวหนังบริเวณขอบเฝือก บวมแดง ซึ่งอาจเกิดจาก เฝือกทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดี

• ไม่สามารถขยับนิ้วมือ หรือ นิ้วเท้า ซึ่งอาจเกิดจากนิ้วบวม หรือ รู้สึกว่ากล้ามเนื้อไม่มีแรง






ห้องผ่าตัด รพ.รร.จปร






 




วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

OPEN OR *-*






    ห้องผ่าตัด เล็ก

ที่ไม่เล็กอย่างที่คิดนะจร้า




                                                                                                        





               ห้องผ่าตัด ใหญ่
          ที่ทุกอย่าง ดูน่าใช้จริ๊งง






ที่ เก็บ ของ

Sterile OR 

5 ส. เริ่ดนะ *-*






รอฟื้น เรา คนไข้นอนเเล้ว

ตื่น ทุกคน นะจ๊ะ ^^








 Gap นี้ ห้องผ่าตัดผ่าน

เเน่นอน เรามีเเล้วนะค่ะ 












ก่อนจะจบ บทความนี้ ฝากว่า

ห้องผ่าตัด หนีไฟก่อนจร้า

:)

วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Opening OR ll

      .. หมอ บอกว่า หลานเรา  ต้องทำการผ่าตัด O_O


.. เฮ้อ จะพาหลานไป ผ่าตัดต้องทำยังไง เริ่มจากอะไรละเนี่ย !!!!



 ?? คุณเคยเจอปัญหาเเบบนี้หรือไม่ ??



.. ไปให้ถึงก่อนละกัน อืมม 


                                               ** ณ โรงพยาบาล **

   .. ตามปู่มา ไม่ต้อง กลัว T_T   /  ปู่รู้เเล้ว ชัดเลย :)





>> ญาติรอด้านหน้านะค่ะ << 


                                             
                                          
        .. อ่านเเล้ว เข้าใจไม่สงสัยอะไรเลย "  สบายใจ " = }




* ขั้นตอนการรับบริการ จาก OR *
              รพ.รร.จปร.