วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553














สวัสดีปีใหม่ 2011 

สุขขี มีชัย จากใจ ห้องผ่าตัด

รพ.รร.จปร.

**_^


วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553






 โรคตาปลา 


มาจากไหน





ตาปลา คือผิวหนังซึ่งหนาตัวขึ้นมาเนื่องจากการกดทับ 
มักจะเกิดตรงนิ้วเท้าเนื่องจากรองเท้าคับเกินไป
แต่ก็อาจจะเกิดที่ฝ่าเท้าได้ สาเหตุที่พบได้บ่อย 
คือ การใส่รองเท้าคับแน่น ไม่เหมาะกับเท้า
หรือการเดินลงน้ำหนักที่ไม่เหมาะสม
ทำให้มีแรงกดตรงใต้ฝ่าเท้า หรือนิ้วเท้านานๆ 
จึงเกิดการสร้างเนื้อเยื่อพังผืดแข็ง ๆ
ขึ้นมารองรับจุดนั้นแทนเนื้อธรรมดา 










" เลือกรองเท้าให้เหมาะสมนะค่ะ "








ตาปลา คือ ผิวหนังที่ด้านขึ้น เนื่องจากแรงกด 
หรือแรงเสียดสีนานๆ มักเกิดตรงบริเวณ ที่มีปมกระดูกนูน
ตำแหน่งที่พบได้บ่อย ได้แก่ บริเวณ ฝ่าเท้า และใต้นิ้วเท้า







* อย่าลืมดูเเลสุขภาพ เท้ากันด้วยนะจร้า  *

ด้วยความปรารถนาดีจาก ห้องผ่าตัด รพ.รร.จปร.

**_**






วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553




มาดูกันว่า ใคร กันบ้างที่มารับบริการ
ห้องผ่าตัดของเรา


เนื่องจากห้องผ่าตัดให้บริการผ่าตัดทั้ง ผู้ป่วยนอก เเละ ผู้ป่วยใน 
---   หากเป็นผู้ป่วยในที่ต้องมีการเตรียมตัวเพื่อผ่าตัด จะมีวิสัญญี        พยาบาล ไปเยี่ยม เพื่อให้คำเเนะนำ สำหรับการผ่าตัด

---   สำหรับผู้ป่วยนอนที่ไม่ได้นอน โรงพยาบาลก็ต้องมีการเตรียมตัวเช่นกันดังนั้น เจ้าหน้าที่ที่เข้า เวร นอกเวลาจะต้องให้คำเเนะนำเเก่ผู้ป่วยดังกล่าวโดยห้องผ่าตัดได้จัดทำเเนวทางการเตรียมตัวของผู้ป่วยนอกที่จะเข้ารับการผ่าตัด  ดังนี้


การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ( กรณีผู้ป่วยนอก ) นอกเวลาราชการ
1. ซักประวัติ

1.1 ทบทวนแฟ้มประวัติผู้ป่วยในอดีต (ถ้ามี)
  
1.2 โรคประจำตัวของผู้ป่วยและการรักษา ประวัติแพ้ยา ยาที่ใช้ประจำ 

โดยเน้น  เรื่องยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือดซึ่งผู้ป่วยควรงดก่อนผ่าตัดหรือทำฟัน 
             (ตามเอกสารของแผนกเภสัชฯที่แนบมา)

กรณี ที่วันนัดผ่าตัดยังไม่ครบกำหนดการหยุดยาละลายลิ่มเลือด 
     ควรแจ้งให้ศัลยแพทย์รับทราบเพื่อพิจารณา 
-   กรณี ที่ผู้ป่วยมีประวัติได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและต้องได้รับยาละลาย 
 ลิ่มเลือดอย่างต่อเนื่องต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อเตรียมผู้ป่วยล่วงหน้าก่อนการผ่าตัดต่อไปเพื่อ ป้องกันลิ้นหัวใจติด ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต

1.3 ซักประวัติปัญหาการผ่าตัดและการได้รับยาระงับความรู้สึก

1.4 ซักประวัติว่าเคยถอนฟันโดยฉีดยาชาหรือไม่ เพื่อดูประวัติการแพ้ยาชา

     1.5 ซักประวัติยาที่ใช้ในการควบคุมความดันให้ผู้ป่วยรับประทานต่อเนื่องจนถึงเช้าวันผ่าตัดโดย รับประทานร่วมกับน้ำเปล่าประมาณ 30 cc

     1.6 ซักประวัติยาที่ใช้ในการควบคุมโรคเบาหวาน หลังจากที่ผู้ป่วยงดอาหารและน้ำดื่ม ห้ามผู้ป่วยใช้ยาโรคเบาหวานเพื่อป้องกันการเกิดภาวะ Hypoglycemia


2. งดน้ำเเละอาหารหลังเที่ยงคืนก่อนวันผ่าตัด 

กรณีผู้ป่วยเด็ก ระยะเวลางดน้ำและอาหารก่อนผ่าตัด  ดังนี้
  
   อายุ     งดน้ำ น้ำหวานไม่มีกาก(ชม.)      งดนมและอาหาร (ชม.)

< 6 เดือน                    2                                4                
 6 เดือน ปี            2-3                               6
  
> 3 ปี                       2-3                               8

      หมายเหตุ  กรณีที่ศัลยแพทย์ไม่มี Order  NPO ให้ยึดคำสั่งของแพทย์เป็นหลัก




3. ทำความสะอาดร่างกายโดยเฉพาะส่วนที่จะผ่าตัด เช่น ทำผ่าตัด CTR ควรตัดเล็บ ฟอกบริเวณมือและข้อมือให้สะอาด หรือผ่าตัด Cyst ที่ศีรษะก็ควรสระผมให้สะอาดเรียบร้อย เป็นต้น


4. ต้องมีญาติมาด้วยอย่างน้อย 1 คน


5. ให้ผู้ป่วยมาถึงห้องผ่าตัดก่อนเวลา  30 นาที


6. กรอกข้อมูลในใบส่งนัดห้องผ่าตัดให้ครบถ้วน โดยเฉพาะการวินิจฉัย การผ่าตัด รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้สะดวกและเป็นปัจจุบัน





วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553




บทความนี้เรานำเอาภาพ บรรยากาศการประชุุมมาฝากกันนะจ๊ะ 



.....ประชุมวิชาการห้องผ่าตัด...

-- เรื่อง การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน --








  พี่เจี๊ยบ เครียดตั้งเเต่ยังไม่เริ่มกันเลย














 


  กินกันไป ประชุมกันไป

สมองปลอดโปร่ง ตาม

สไตล์ OR



                                      

 





   พี่ตุ่น เป็นผู้เริ่มนำเข้าสู่บทเรียน





  "  เรียบร้อยไปป่าว "

เหมือนไม่ใช่มายด์ เลย ^^






 เริ่ม ง่วง แล้ว จร้า  ... =="






  อาจารย์ป้า จาก CSSD ก็มาอะนะ




                             

                                               
   





 
พี่เจี๊ยบ เริ่ม หาข้อมูล.... *-**







  มากันครบ พี่ เมย์ หายไปไหน งะ 

       (( ก็มาถือกล้องไงจร้า ))









หลังจากได้รับความรู้เต็มที่ เราก็ สู้ตายจร้าาาาาา